วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายของมหาวิทยาลัย

บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายของมหาวิทยาลัย



          

การกำหนดชื่อ (SSID) ช่องสัญญาณไร้สาย
  • SSID YRU-WiFi สำหรับบุคลากร และนักศึกษา
  • SSID YRU-802.1x สำหรับบุคลากร
บริเวณพื้นที่ให้บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายภายในมหาวิทยาลัย ดังนี้
(ลิงค์แผนผังระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายของมหาวิทยาลัย)
  1. อาคารเรียน 01
  2. อาคารเรียน 03 (คณะวิทยาการจัดการ) - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้
  3. อาคารเรียน 04 - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้ 
  4. อาคารเรียน 05 - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้
  5. อาคารเรียน 06 - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้
  6. อาคารเรียน 09 - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้
  7. อาคารเรียน 10A - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้
  8. อาคารเรียน 10B - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้
  9. อาคาร 38 (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ) - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้
  10. อาคาร ยะลาพาเลช
  11. อาคาร ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
  12. อาคาร ป้อมยาม
  13. โรงเรียนสาธิต
  14. อาคารกิจการนักศึกษา - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้
  15. อาคารวิทยาศาสตร์และการอาหาร
  16. หอประชุมเล็ก อาคารประกอบปีกซ้ายและขวา - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้
  17. หอประชุมใหญ่(ชั้น 1) - ใช้บริการ YRU-802.1X ได้

(ลิงค์เอกสารแสดงรายละเอียดจำนวน AP ที่ให้บริการในแต่ละอาคาร)

คู่มือการตั้งค่าใช้บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย YRU-802.1x
      *** หากพบปัญหาในคู่มือการตั้งค่า ติดต่อทีมงานระบบเครือข่าย

การแจ้งปัญหาในส่วนของการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย
  1. แจ้งผ่านเว็บไซต์ศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยเข้าไปที่ http://ccenter.yru.ac.th/ แล้วเลือก "แจ้งปัญหาระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์"
  2. แจ้งผ่านทางเมล noc-support@yru.ac.th
  3. แจ้งผ่านทางโทรศัพท์ภายใน 22400
  4. หรือแจ้งผ่านทาง Blog นี้ได้


วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มหาวิทยาลัยได้ประโยชน์จาก Google Apps for Education อย่างไรบ้าง?

บริการ Google Apps ภายใต้โดเมนเนมของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Google Apps for Educaction @ Yala Rajabhat University


มหาวิทยาลัยได้ประโยชน์จาก Google Apps for Education อย่างไรบ้าง?

การรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
          Dr Christine Sexton, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศมหาวิทยาลัย Sheffield ได้กล่าวไว้ว่า 
“Google มีกิจการขนาดใหญ่ที่สามารถใช้จ่ายกับการรักษาความปลอดภัยได้มากกว่าที่เราจะทำได้ ในความเป็นจริง พวกเขาสามารถใช้จ่ายกับการรักษาความปลอดภัยได้มากกว่าภาครัฐส่วนใหญ่ โดยใช้ระบบไบโอเมตริก อันได้แก่ การสแกนม่านตาและเทอร์โมกราฟิกเพื่อเข้าถึงการควบคุม พวกเขาได้สร้างฮาร์ดแวร์ที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลและได้ทำลายดิสก์ที่เลิกใช้ด้วยการเขียนข้อมูลทับ ทำให้แตก บดละเอียด แล้วรีไซเคิลวัสดุ โครงสร้างพื้นฐานถูกสร้างขึ้นโดยคำนึงถึงความผิดพลาดเป็นหลัก โดยมีการเชื่อมต่อหลายทางจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายราย และศูนย์ข้อมูลทั้งหมดสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงระบบจ่ายไฟฟ้าหลัก”